หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระศุภลักษณ์ ปญฺญาวโร (พิมพ์ดี)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๖ ครั้ง
ศึกษาการบริหารงานคณะสงฆ์อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระศุภลักษณ์ ปญฺญาวโร (พิมพ์ดี) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต
  ดร.ประยูร แสงใส
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง การบริหารงานคณะสงฆ์อำเภอน้ำพอง  จังหวัดขอนแก่น   มีวัตถุประสงค์การวิจัย ๓ ข้อ คือ (๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานคณะสงฆ์สมัยโบราณ (๒) วิธีการบริหารงานคณะสงฆ์อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น (๓) ผลการบริหารงานคณะสงฆ์อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สรุปผลการศึกษา มีดังนี้

                  การบริหารงานคณะสงฆ์สมัยโบราณ พบว่า  มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ๒ ด้าน คือ (๑) การเปลี่ยนแปลงภายนอกองค์กรสงฆ์ ได้แก่  ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม  ศาสนา  (๒) ปัจจัยภายในองค์กร คือ   จำนวนของพระภิกษุสงฆ์ที่เพิ่มมากขึ้น  ไม่สามารถที่จะควบคุมกระทั่งทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน  เป้าหมายในการจัดตั้งองค์กรสงฆ์ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของคณะสงฆ์ และแก่พุทธศาสนิกชน  การจัดตั้งองค์กร ครั้งแรก พระพุทธองค์ทรงบริหารด้วยพระองค์เอง  เมื่อคณะสงฆ์มีจำนวนมาก  จึงทรงมอบอำนาจและหน้าที่การบริหารงานให้เป็นหน้าที่ของคณะสงฆ์ เช่น อุปสมบท การวินิจฉัยอธิกรณ์ต่างๆ การบริหารองค์กรคณะสงฆ์สมัยพุทธกาลนั้น ได้แบ่งหน้าที่ไว้ชัดเจน เรียกว่า เจ้าอธิการ คือ ผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบแต่ละแผนก เช่น เจ้าอธิการแห่งจีวร โดยเน้นที่ความสามารถเฉพาะด้านของบุคคลในแต่ละหน้าที่ ส่วนงานหลักๆ ในสมัยพุทธกาล มี ๔ ด้าน คือ  การปกครอง การจัดการศึกษา เผยแผ่ สาธารณูปการ สำหรับแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาในการบริหารจัดองค์กรคณะสงฆ์ครั้งพุทธกาล กำหนดไว้ ๔ แนวทาง คือ การระงับปัญหาที่เกี่ยวกับวิวาทาธิกรณ์ (วิวาทด้วยเหตุแห่งพระธรรมวินัย)  อนุวาทาธิกรณ์ (วิวาทด้วยเหตุแห่งอาบัติ) อาปัตตาธิกรณ์ (วิวาทด้วยเหตุแห่งการปรับอาบัติ) และกิจจาธิกรณ์  (วิวาทด้วยเหตุแห่งการงานหรือกิจอันจะพึงทำด้วยการประชุมสงฆ์) โดยในแต่ละอย่างก็จะมีแนวทางสำหรับแก้ปัญหาของเรื่องนั้นๆ  ส่วนการบริหารจัดการของคณะสงฆ์สมัยหลังพุทธกาล แบ่งเป็น ๓ ช่วงระยะเวลา คือ  (๑) ปฐมสังคายนาครั้งที่ (๒) ทุติยสังคายนาครั้งที่ ๒ (๓) ตติยสังคายนาครั้งที่ ๓

            วิธีการบริหารงานคณะสงฆ์อำเภอน้ำพอง   มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อให้การบริหารงานตอบสนองต่อความต้องการของพุทธศาสนิกชน จึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือทางคณะสงฆ์ประจำทุกเดือนที่เรียกว่า สภาสงฆ์อำเภอน้ำพอง   โดยได้กำหนดให้พระสังฆาธิการปฎิบัติหน้าที่ตามธรรมวินัยกำหมายละกฎมหาเถรสมาเพื่อให้ภิกษุสามเณรในเขต ปกครองมีสีลาจารวัตรใฝ่ศึกษาตามหลักไตรสิกขา ผลการบริหารงานคณะสงฆ์อำเภอน้ำพอง สรุปเป็นประเด็นได้ว่า (๑) ด้านการปกครอง  มีโครงการที่เด่น ๖ โครงการ เช่น โครงการพระหลวงตาพัฒนา ฌาปนกิจสงเคราะห์พระภิกษุสามเณร การจัดตั้งสภาสงฆ์อำเภอน้ำพอง (๒) ด้านการศึกษา แต่เดิมอำเภอน้ำพอง ได้รับยกย่องว่าเป็นสำนักเรียนดีเด่นด้านพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี แต่ในปัจจุบัน กลับพบว่า บุตรหลานที่เข้ามาบวชเรียนนิยมเรียนแผนกสามัญศึกษามากกว่า เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจและหน้าที่การงาน เมื่อลาสิกขาบทออกไปแล้ว จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากและทำให้มีผู้เรียนน้อยลง (๓) การศึกษาสงเคราะห์แก่พระภิกษุสามเณรและเยาวชน คณะสงฆ์อำเภอน้ำพอง ได้ช่วยเหลือโดยการแจกทุนการศึกษา จัดตั้งโรงเรียนการกุศลเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองที่ไม่สามารถนำบุตรหลานไปเรียนต่อยังตัวเมืองขอนแก่นได้ ปัจจุบันมีจำนวน ๓ แห่งด้วยกัน เช่น โรงเรียนการกุศลวัดหนองกุง โรงเรียนการกุศลวัดพุทธเกษม (๔) ด้านการเผยแผ่ พบว่า คณะสงฆ์อำเภอน้ำพองนั้น มีประชาชนให้ความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระสงฆ์ในพื้นที่ ด้วยการเผยแผ่ในรูปแบบต่างๆ เช่น การออกเทศนาและอบรมประชาชนในเทศกาลเข้าพรรษา วันสำคัญทางศาสนา งานปฏิบัติธรรม งานเข้าปริวาสธรรม (๕) ด้านสาธารณูปการ  คณะสงฆ์ได้ร่วมกันก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ  เช่น การสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ  (๖) ด้านสาธารณสงเคราะห์  คณะสงฆ์ได้ช่วยเหลือดว้ยบริจาคนิตยภัตรแก่โรงพยาบาลอำเภอน้ำพองทุกปี ตลอดจนช่วยเหลือ หน่วยงานราชการ และประชาชนที่ประสบภัยทางธรรมชาติ ตามโอกาส

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕