หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมรัก ภทฺทปญฺโญ
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๔ ครั้ง
ความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนต่อการบริหารจัดการวัด ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
ชื่อผู้วิจัย : พระสมรัก ภทฺทปญฺโญ ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปุริมานุรักษ์, รศ.ดร. น.ธ.เอก,พ.ม. B.A.,M.A.,Ph.D.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรพล สุยะพรหม, ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.ม., M.A., Ph. D. (Pol. Sc.)
  ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง, ป.ธ.๗, พธ.บ., M.A.(Soc.),Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชน ต่อการบริหารวัดในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชน  ต่อการบริหารวัดในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางของการบริหารวัด ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ศึกษาวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จำนวน ๓๗๗ คนซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .๘๕๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยใช้ค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไปและเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

ผลการวิจัยพบว่า พุทธศาสนิกชนที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน ๒๐๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๘๕  มีอายุระหว่าง ๒๐ - ๓๐ ปี จำนวน ๑๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๘๙ มีสถานภาพสมรส จำนวน ๑๘๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๑๓ มีระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน ๑๙๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๖๖ มีรายได้ต่อเดือน ๘,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๙๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๑๔ และมีอาชีพรับราชการ จำนวน ๑๗๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๓๖

พุทธศาสนิกชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารวัดในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๖๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน

     เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนต่อการบริหารวัดในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ, อายุ, สถานภาพ, ระดับการศึกษา, รายได้เฉลี่ยต่อเดือน, อาชีพ พบว่า พุทธศาสนิกชนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ อาชีพแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารวัด แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๕  ส่วนพุทธศาสนิกชนที่มี เพศ, อายุ, สถานภาพ และ ระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารวัด ไม่แตกต่างกัน

     ปัญหาและแนวทางในการการบริหารวัดในอำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี  ในด้านการปกครอง ให้มีการตรวจสอบประวัติของผู้มาขอบวช และเข้มงวดกวดขันให้มากขึ้น        ด้านการศาสนศึกษา อยากให้ส่งเสริมสนับสนุนด้านการศึกษาให้มากขึ้น ด้านศึกษาสงเคราะห์ ให้มีการมอบทุนและหางบประมาณด้านการศึกษา ด้านการเผยแผ่ ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการใช้สื่อ ด้านสาธารณูปการ ให้มีการวางแผนในการก่อสร้าง ด้านสาธารณสงเคราะห์ ให้สงเคราะห์ทางด้านจิตใจมากกว่าวัตถุ


ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕