หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูพิมลธรรมานุกูล (สันติชัย โชติโก)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๓ ครั้ง
การวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในสักกปัญหสูตร
ชื่อผู้วิจัย : พระครูพิมลธรรมานุกูล (สันติชัย โชติโก) ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพสุวรรณเมธี
  สุพิชฌาย์ พรพิชณรงค์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2561
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ๑) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ทำให้เกิดเป็นท้าวสักกะ ๒) เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของสักกปัญหสูตรและพระสูตรที่เกี่ยวข้อง ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมในสักกปัญหสูตรและพระสูตรที่เกี่ยวข้องผลจากการศึกษาและวิจัยพบว่า

พระพุทธศาสนาได้แสดงถึงหลักปฏิบัติที่จะทำให้มนุษย์เป็นเทวดา โดยให้ปฏิบัติในหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หลักสัมปทา เทวธรรมและวัตตบท ๗ บุคคลจะเป็นท้าวสักกะได้ด้วยการประพฤติวัตตบท ๗ ประการ คือ เลี้ยงมารดาบิดา ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ พูดจาแต่คำอ่อนหวาน ไม่พูดคำส่อเสียด มีใจปราศจากความตระหนี่ ยินดีในการเสียสละ พูดคำสัตย์ และไม่โกรธ พร้อมด้วยมีคุณธรรมอื่นๆหลักปฏิบัติเหล่านี้เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่งแก่ผู้ปฏิบัติ

พระพุทธเจ้ามีการติดต่อกับเทวดาอยู่เป็นประจำ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบมีไมตรีจิตร่วมกันฉันมิตร เทวดามีโอกาสได้ฟังธรรม และเมื่อมีปัญหาข้อสงสัยก็สามารถลงมายังโลกมนุษย์เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลถามวิธีการแก้ปัญหาหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาตอบแก่เทวดานั้น สามารถจัดเป็นหลักใหญ่ๆ ต่อการพัฒนาที่สำคัญคือ หลักธรรมเพื่อสนองความอยากรู้ของเทวดาเพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อพัฒนาสังคม และเพื่อพัฒนาไปสู่ความหลุดพ้น โดยเฉพาะหลักธรรมเพื่อความหลุดพ้น นั้นถือเป็นเป้าหมายที่สำคัญ ในทางพระพุทธศาสนา หลักธรรมที่มีการกล่าวไว้ครอบคลุมลุ่มลึกในการปฏิบัติซึ่งนำไปสู่ความหลุดพ้น ตั้งแต่ระดับโลกียะ ไปจนกระทั้งถึงระดับโลกุตตระคือ มงคลสูตร ได้แก่ พระสูตรใหญ่ที่วางข้อปฏิบัติเอาไว้ถึง ๓๘ ประการ มีการไม่คบคนพาล เป็นข้อต้น จนถึงจิตเกษมจากโยคะเป็นข้อสุดท้าย

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕